ข้อมูล อบต.
นายนิเวช แก้วคำเลิศ - นายกองค์การบริหารส่วนตำบล<br>ทุ่งรวงทอง<br>มือถือ. 081-9616287<br>โทร. 053-024198-9 ต่อ 19<br>

นายนิเวช แก้วคำเลิศ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ทุ่งรวงทอง
มือถือ. 081-9616287
โทร. 053-024198-9 ต่อ 19

สายตรงนายก

อำนาจหน้าที่ของ อบต.

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

241 ครั้ง

อํานาจหน้าที่ของ อบต.

อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตําบล และองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 

และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)

1. พัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 
2. มีหน้าที่ต้องทําตามมาตรา 67 ดังนี้

   1. จัดให้มีและบํารุงทางน้ำและทางบก
   2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดขยะมูลฝอยและสิ่ง ปฏิกูล
   3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
   4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย    
   5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม    
   6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ    
   7. คุ้มครอง ดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    
   8. บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น    
   9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
3. มีหน้าที่ที่อาจทํากิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้    
   1. ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร    
   2. ให้มีและบํารุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
   3. ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา
   4. ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
   5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
   6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครั;
   7. บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
   8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
   10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
   11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
   12. การท่องเที่ยว
   13. การผังเมือง 


อํานาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ

พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กําหนดให้ อบต.มี อํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

   1. การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

   2. การจัดให้มี และบํารุงรักษาทางบกทางน้ํา และทางระบายน้ํา

   3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

   4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ

   5. การสาธารณูปการ

   6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

   7. คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

   8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

   9. การจัดการศึกษา

 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

 11. การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

 13. การจัดให้มี และบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

 14. การส่งเสริมกีฬา

 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

 17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

 18. การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย

 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

 20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน

 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

 22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์

 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามยั โรงมหรสพ และสาธราณสถานอื่นๆ

 24. การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 25. การผังเมือง

 26. การข่นส่ง และการวิศวกรรมจราจร

 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ

 28. การควบคุมอาคาร

 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั

 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และ

ทรัพย์สิน

 31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คระกรรมการประกาศกําหนด


อบต.มีความสําคัญอย่างไร

อบต. มีความสําคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตําบล) ดังนี้

  1.เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่พัฒนาตําบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกจิ สังคม และวัฒนธรรม

  2.เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชนอื่น ๆ

  3.เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น(สมาชิกสภา อบต.) เขาไปมีส่วนร่วมใน

การ ตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น

  4.เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถนิ่ ให้ทํางานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น

สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.

  5.ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทํางานและใช้สิทธิ

ถอดถอน ผู้แทนของตน(สมาชิกสภา)ที่ไม่ทํางานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น


อบต.มีโครงสร้างอย่างไร โครงสร้าง

อบต.ประกอบด้วย

  1.สภาองค์การบริหารส่วนตําบล (สภา อบต.)

  2.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.)


สมาชิก อบต. มีหน้าที่อะไรบ้าง

สมาชิก อบต. มีหน้าที่

  1. ให้ความเหน็ชอบแผนพัฒนาตําบล

  2. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตําบล / ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปี

  3. ควบคุมการทํางานของคณะผู้บริหาร

  4. เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม


คณะผู้บริหาร อบต. (นายก อบต. และรองนายก อบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง 

คณะผู้บริหาร อบต.มีหน้าที่

  1. บริหารงานของอบต. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตําบล

  2. จัดทําแผนพัฒนาตําบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปีเสนอต่อสภาอบต.

  3. รายงานผลการทํางาน และการใช้เงินสภา อบต. ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมาย เข้าร่วมประชุมกับสภา อบต. ตามสมัยประชุม


บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบล

บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ

ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา "ข้อบังคับตําบล" ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน "ทุกข์" และ "สุข" ของประชาชนรวมทั้งมีอํานาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล ดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมนั่นในหลักการประชาธิปไตยทื่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยังประชาชนในตําบล

แนวทางปฎิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีดังนี้

  1. ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งโดยเสรี การใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้งการแสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมาย ฯลฯ

  2. ต้องมีวิถีการดําเนินชวีิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟังเคารพ ในเหตุผลประชาชนในเขตอบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

          1. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.

          2. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.

          3. เสนอให้ออกข้อบังคับตําบล

          4. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.

          5. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.

          6. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน

          7.มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.

          8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตําบล

          9. เสียภาษีแก่ อบต.

         10. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.

         11. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.

         12. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนให้เข้มแข็ง

         13. ได้รับบริการสาธารณะ และการบําบัดทุกข์ บํารุงสุข จาก อบต. ตามอํานาจหน้าที่ของ อบต.

แชร์ให้เพื่อน: